02-1620750

ดินเหนียวสังเคราะห์

฿0.00
ดินเหนียวสั์งเคราะห GCL งานกลบบ่อขยะ ป้องกันการซึมของน้ำ
  • หมวดหมู่ : วัสดุสังเคราะห์งานดิน
  • รหัสสินค้า : 000007

รายละเอียดสินค้า ดินเหนียวสังเคราะห์

ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าเราได้ที่ โฮมมารช SCG ทั่วประเทศ
 สนใจเพื่อเสนอราคา 061-4561644/02-1505867
 E-mail : [email protected]
ID LINE : ilovesun1234 หรือ thailandgabion
Facebook : Thailandgabion
What App : 66818996766
Wechat : sukyai21

  แผ่นดินเหนียวสังเคราะห์

(Geosynthetic Clay Liner:GCL)

 
วัสดุแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์(GCL) ที่ใช้จำหน่ายเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของน้ําหรือของเหลวได้ดี มีค่าการซึมผ่าน (Permeability) ที่ต่ำ ตัววัสดุจะต้องประกอบด้วยชั้นของ Sodium Bentonite เป็นแกนกลาง ประกอบด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ 2ชนิดคือ ชนิด Woven Geotextile > 200 g/m2ที่ด้านหนึ่ง และชนิด Non-woven Geotextile >110 g/m2 อีกด้านหนึ่ง โดยทั้งหมดจะยึดติดกันด้วยวีธีการ Needle – punched โดยตลอดทั้งหน้าตัด และที่ด้านนอกสุดของวัสดุแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (GCL) นี้ 1 ด้านจะมีชั้นของ HDPE Sheet ยึดติดอยู่ด้วยกันมาจากโรงงานผู้ผลิตเพื่อช่วยเสริมความต้านทานการซึมผ่านของน้ํา วัสดุแผ่นดินเหนียวสังเคราะห์ (GCL) จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
 
-ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของงานดิน
-ช่วยทำให้การกักเก็บน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-ช่วยลดปัญหาทางอากาศ ที่เกิดจากการเน่าเสีย
-ช่วยทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมหลายชนิดลดต้นทุนค่าใช้จ่าย จากโครงการก๊าซชีวภาพ เป็นต้น
-ข้อดีของ GCL คือ ติดตั้งง่าย, ใช้พื้นที่น้อยทำให้มีพื้นที่ในการฝังกลบมูลฝอยมากขึ้น, คุณสมบัติคงที่เป็นเนื้อ---เดียวกันเพราะมีการควบคุมการผลิตจากโรงงานและไม่ต้องมีการเชื่อมแค่นำมาซ้อนทับกันก็ใช้ได้เพราะเบนโทไนท์จะเชื่อมประสานกัน
 
 
ข้อมูลการวิจัย (จากเวป สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 15 ภูเก็ต)
 
ทำไมดินเหนียวสามารถใช้เป็นชั้นกันซึมได้
ในดินเหนียวจะมีคุณสมบัติบางประการที่มีความเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้เป็นชั้นกันซึม ดังนี้
 
 ข้อที่ 1: อนุภาคดินเหนียวจะมีค่าประจุลบของแร่ดินเหนียวโดยธรรมชาติ ทำให้มีความสามารถดูดประจุบวกที่อยู่ในน้ำมาติดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ สังเกตเห็นได้ว่าที่ผิวของดินเหนียวจะมีน้ำเคลือบอยู่ด้วย ทำให้ดินเหนียวสามารถดูดติดผิวประจุบวกของสารอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำชะมูลฝอยได้
 
 ข้อที่ 2: ดินเหนียวมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capacity, CEC) ซึ่งในดินเหนียวจะมีค่าไม่เท่ากันตามชนิดของแร่ดินเหนียวที่อยู่ในดิน โดยดินเหนียวที่มี CEC มากกว่าจะสามารถดึงประจุบวกมาเคลือบที่ผิวได้มากกว่า ค่า CEC มีหน่วยเป็น meq/100g (มิลลิอิควิวาเลนท์ของประจุบวกต่อน้ำหนักของดินเหนียว 100 กรัม)
 
 ผลการศึกษาการนำดินเหนียวท้องถิ่นมาใช้เป็นชั้นกันซึมในสถานที่ฝังกลบมูลฝอย โดยการศึกษาของนันทนิตย์ เจริญไธสง (2549) ได้นำดิน 3 ชนิด มาทดลองใช้เป็นชั้นกันซึมในระดับห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ทรายผสมเบนโทไนต์ ดินเหนียวเกาะยอและดินลูกรังคอหงส์ ทำการทดสอบกับโลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ แคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี โครเมียมและนิกเกิล พบว่า ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุของเบนโทไนต์สูงกว่าดินเหนียวเกาะยอและดินลูกรังคอหงส์ ตามลำดับ โดยทรายที่ผสมเบนโทไนต์ 3% เพียงพอที่จะให้ค่าสัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่านน้อยกว่า 1 x 10-7 cm/s ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่านของทรายผสมเบนโทไนต์ที่ 5% ดินลูกรังคอหงส์ และดินเหนียวเกาะยอ มีค่าเท่ากับ 5.15 x 10-9, 3.39 x 10-8 และ 5.67 x 10-8 cm/s ตามลำดับ
 ค่าสัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่านของทรายผสมเบนโทไนต์ ดินลูกรังคอหงส์ และดินเหนียวเกาะยอ จากการทดลอง 500 วัน ยังคงมีค่าคงที่ตลอด ถ้าความเข้มข้นของสารละลายโครเมียมไม่สูงกว่า 0.001 โมล สำหรับทรายผสมเบนโทไนต์และดินลูกรังคอหงส์ และไม่เกิน 0.01 โมล สำหรับดินเหนียวเกาะยอ 
 
 ผลการหาความหนาของชั้นกันซึม พบว่า การใช้ทรายผสมเบนโทไนต์ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ และดินลูกรังคอหงส์ สำหรับเป็นชั้นกันซึมหนา 60 เซนติเมตร ไม่สามารถลดการปนเปื้อนของสารปนเปื้อนในน้ำชะมูลฝอยลงน้ำใต้ดินในระยะเวลา 100 ปีได้ แต่สำหรับการใช้ดินเหนียวเกาะยอเพื่อเป็นชั้นกันซึม ที่มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร จะสามารถลดการปนเปื้อนของสารปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมในระยะเวลา 100 ปีได้
 เนื่องจากในน้ำชะมูลฝอยที่เป็นมูลฝอยชุมชน จะมีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นชั้นกันซึมที่เหมาะสม จะต้องสามารถป้องกันการเคลื่อนที่ของสารอินทรีย์และอนินทรีย์ในน้ำชะมูลฝอยได้ โดยชั้นกันซึมแบบผสมที่ประกอบด้วยชั้นจีโอเมมเบรนและชั้นดินเหนียวบดอัดจะมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับสภาพของงานมากกว่าชั้นกันซึมชนิดอื่น จึงเป็นที่นิยมในการใช้สร้างสถานที่ฝังกลบมูลฝอยชุมชน (ธนิต เฉลิมยานนท์, 2550)
 
มาตรฐานจาก GAI-LAP (Geosynthetics Accreditation institute - Laboratory Accreditation Program)
Introduction
 
Needle-punched geosynthetic clay liner (GCL) is a woven fabric like material primarily used for the lining of landfills, anti-seepage of artificial lake waterscape, underground garage, roofing garden, water tank, oil depot and chemical pile yard. By needle embroidering method, it can form many small fiber spaces, which prevent bentonite particles from moving in one direction, and rubber head water layer with uniform high density is formed in the liner when meeting water. The resulting lower permeability slows the rate of seepage out of the landfill.
 
Application
 
Municipal programs, such as subway, tunnel, other underground and roof Environment protection works like waste landfill, sewage farm, industrial waste Water works, airport, artificial lake, etc.
 

Technical Data  Art No.PLD03

 

MATERIAL PROPERTY

TEST METHOD

REOUIRED VALUES

Bentonite Swell Index

ASTM D 5890

24mL/2g min

Bentonite Fiuid Loss

ASTM D 5891

18mL max

Bentonite Mass/Area2

ASTM D 5993

3.6kg/m2 min

GCL Grab Strength

ASTM D 4632

400N marv

GCL Peel Strength

ASTM D 4632

65N min

GCL Index Flux

ASTM D 5887

1×10-8m3/m2/sec max

GCL Permeability

ASTM D 5887

5×10-9cm/sec max

GCL Hydrated Internal Shear Strength

ASTM D 5321

24kPa typical typical

 
มาทำความรู้จักเบนโทไนท์

ดินเบนโทไนท์มี  2  ชนิด คือ

 

  • แคลเซียมเบนโทไนท์  เหมาะสำหรับใช้เพื่อการเกษตร  ใช้เพื่อปรับปรุงดิน เพื่อเป็นฟิลเลอร์ของปุ๋ยเคมี  เป็นธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี  ใช้ป้องกันการรั่วซึมของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อเก็บน้ำการเกษตร มีคุณสมบัติในการดูดซึบ กลิ่นในฟาร์มปศุสัตว์ ปลอดภัยต่อคนสัตว์และสิ่งแวดล้อม  อัตราการขยายตัว เมื่อถูกน้ำ  1 – 5  เท่าของปริมาตรดินเดิม
  • โซเดียมเบนโทไนท์  เป็นดินเบนโทไนท์ที่ผ่านกระบวนการทำปฎิกริยากับเคมีได้แอคติเวเตดเคลย์ ( Activated clays )  เปลี่ยนจากแคลเซียมเป็นโซเดียมเบนโทไนท์   เหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำที่ดี  มีอัตราการขยายตัวสูงเมื่อถูกน้ำ ( Swelling  index ) 15 – 20  เท่า  จากปริมาตรดินแห้ง
     

 


ประโยชน์ของโซเดียมเบนโทไนท์

  • การทำโคลนเจาะต่างๆ  โดยใช้ผสมกับน้ำเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงหัวเจาะในการเจาะบ่อบาดาลหรือเจาะบ่อน้ำมัน
  • การขจัดสีในน้ำมันอุตสาหกรรมฟอกสี
  • การผลิตเครื่องสำอางค์
  • การขจัดคราบไขมันในบ่อบำบัดน้ำเสีย
  • อุตสาหกรรมเซรามิค
  • ใช้ผสมดินหรือคอนกรีตในการก่อสร้างเขื่อนหรือคลอง  เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม
  • ใช้ในอุตสาหกรรมหล่อเหล็ก
  • ใช้ในการปรับความหนืดสำหรับอุตสาหกรรมสีและหมึกพิมพ์ 
  •